คอนเทนต์คืออะไร รวมเทคนิคเขียน Content ดึงดูดลูกค้าและยอดคลิก

คอนเทนต์คืออะไร รวมเทคนิคเขียน Content ดึงดูดลูกค้าและยอดคลิก

เมื่อพูดถึงคอนเทนต์ คุณนึกถึงอะไร?

ความไวรัล (Viral), เนื้อหาสาระ, การให้คำตอบ, เนื้อหาที่สนุกสนาน? 

แน่นอนว่า ในโลกของการทำ Digital Marketing คอนเทนต์ทำหน้าที่หลายอย่างโดยจะขึ้นอยู่กับ Goal ของการสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาว่า แบรนด์ต้องการให้ผู้รับสารรู้เรื่องอะไร หรือแบรนด์เองต้องการนำเสนอสิ่งไหน อย่างในบทความนี้ก็จะมาพูดถึงการใช้คอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้าและยอดคลิก หรือการทำเพื่อส่งเสริมกระบวนการ Marketing Funnel เป็นหลัก เพื่อให้ธุรกิจเข้าใจถึงประเภทของคอนเทนต์และการนำไปใช้เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของธุรกิจได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

มาดูกันดีกว่าว่า คอนเทนต์คืออะไร มีกี่ประเภท จะสามารถใช้ในการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), การพิจารณา (Consideration) และการตัดสินใจ (Decision) ได้อย่างไรบ้าง ตาม Content Cube ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลย

สารบัญ

คอนเทนต์คืออะไร?

คอนเทนต์คืออะไร

สำหรับในแง่ของการทำการตลาด Content หรือ คอนเทนต์ คือ การสร้างเนื้อหาหรือข้อมูล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ, บทความให้ความรู้, วิดีโอรีวิวสินค้า ฯลฯ โดยจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการทำ Marketing ของธุรกิจ (หรือที่หลายคนเรียกว่า Content Marketing) 

ซึ่งคอนเทนต์ที่แบรนด์หรือธุรกิจทำขึ้นจะถูกส่งผ่านไปหากลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Social Media, E-mail, Website ฯลฯ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), การพิจารณา (Consideration) และการตัดสินใจ (Decision) ตาม Marketing Funnel และนำพาให้เกิด Conversion ได้ในที่สุด

คอนเทนต์มีกี่ประเภท?

วิธีการแบ่งประเภทของคอนเทนต์นั้นมีมากมายหลายแบบ แต่ในที่นี้จะขอแบ่งตามหลักการที่เรียกว่า Content Metrix หรือ Content Marketing Matrix ที่เป็นการจัดหมวดหมู่ของคอนเทนต์ตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอคอนเทนต์ที่ชัดเจน และเหมาะจะนำมาใช้เป็นไอเดียในการสร้างคอนเทนต์สำหรับแบรนด์ต่อไป โดย Content Metrix จะแบ่งคอนเทนต์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

คอนเทนต์มีกี่ประเภท

ที่มาภาพ: sendpulse.com

1. คอนเทนต์ประเภทให้ความบันเทิง (Entertain)

คอนเทนต์ประเภทให้ความบันเทิง (Entertain) จะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่เล่นกับความรู้สึกของผู้ชมเป็นหลัก เช่น ความรู้สึกสนุกสนาน บันเทิง สะเทือนอารมณ์ ฯลฯ จึงส่งผลให้เกิดยอด Engagement ที่สูง และเกิดการรับรู้แบรนด์  (Brand Awareness) ที่ดีมากด้วย จึงเหมาะสำหรับแบรนด์ที่เปิดตัวใหม่ หรือเป็นการทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมต Product ใหม่ที่ต้องการให้คนพูดถึงหรือต้องการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว

 ตัวอย่างคอนเทนต์ประเภทให้ความบันเทิง เช่น คอนเทนต์ Viral Marketing, เกม, คอนเทนต์การตอบคำถามเพื่อรับรางวัล เป็นต้น ซึ่งการประเมินว่า คอนเทนต์ประเภทให้ความบันเทิงนั้นทำหน้าที่ได้ดีแค่ไหน อาจจะประเมินจาก…

  • ยอด Engagement ต่อจำนวนโพสต์ที่สูงขึ้น
  • การแสดงผลแบบ Organic ในแต่ละช่องทางที่เพิ่มมากขึ้น
  • การวัดจากการทำ Social Listening ที่คนในโลกโซเชียลมีเดียพูดถึงแบรนด์

2. คอนเทนต์ประเภทให้แรงบันดาลใจ (Insprie)

คอนเทนต์ประเภทให้แรงบันดาลใจ (Insprie) จะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่เล่นกับความรู้สึกไปพร้อมๆ กับทำหน้าที่กระตุ้นยอดขายไปด้วย จึงมีส่วนสร้างทั้งการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), การพิจารณา (Consideration) และการตัดสินใจ (Decision) ซึ่งโดยปกติแล้วรูปแบบของคอนเทนต์ประเภทนี้จะมาในแง่ของการทำรีวิว, การทำ Influencer Marketing, การถูกพูดถึงใน Community ต่างๆ เช่น พันทิป, Facebook Group ฯลฯ

ส่วนการประเมินว่า คอนเทนต์ประเภทให้แรงบันดาลใจที่ทำอยู่นั้นมีคุณภาพมากแค่ไหน อาจจะประเมินจาก…

  • เทรนด์การค้นหาที่เพิ่มขึ้นในหัวข้อที่ทำลงไป
  • ยอดขายที่เพิ่มขึ้นหลังจากโพสต์เนื้อหา
  • ยอด Engagement ที่เพิ่มขึ้นบนโซเชียลมีเดีย

3. คอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ (Educate)

คอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ (Educate) เป็นประเภทคอนเทนต์ที่ทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และให้ข้อมูลที่สำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนใหญ่จะใช้ในขั้นตอนการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness) หรือขั้นตอนที่กลุ่มเป้าหมายพิจารณา (Consideration) อะไรบางอย่าง จึงเป็นคอนเทนต์ที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และความน่าเชื่อให้กับแบรนด์ได้มาก แต่เนื้อหาที่ให้ความรู้ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ได้ส่งเสริมให้เกิด Conversion โดยตรง

ตัวอย่างคอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ เช่น บทความ SEO, Infographic, รีพอร์ต, E-book, คู่มือ เป็นต้น ซึ่งการประเมินว่า คอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ที่ทำอยู่นั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน อาจจะประเมินจาก…

  • ยอด Traffic การเข้าชมเว็บไซต์จากบทความ
  • จำนวน Lead ที่ได้จากการดาวน์โหลดรีพอร์ตหรือ E-Book
  • % ของยอด Subscriber ที่สมัครรับข้อมูล

4. คอนเทนต์ประเภทสร้างแรงจูงใจ (Convince)

คอนเทนต์ประเภทสร้างแรงจูงใจ (Convince) จะเป็นประเภทคอนเทนต์ที่เน้นการสร้างแรงจูงใจหรือโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการซื้อ โดยมักจะต้องนำเสนอคอนเทนต์ที่ช่วยทำให้พวกเขาเห็นว่า จะได้อะไรจากการซื้อสินค้าหรือบริการ เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างก่อนตัดสินใจซื้อ หรือแบรนด์ของคุณโดดเด่นกว่าคู่แข่งอย่างไร ยกตัวอย่างคอนเทนต์ เช่น คอนเทนต์อธิบายประโยชน์ของผลิตภัณฑ์หรือบริการ, คอนเทนต์โปรโมชัน, Case Study, รีวิวจากคนที่ซื้อสินค้าจริง ฯลฯ ซึ่งการประเมินว่า คอนเทนต์ประเภทให้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการซื้อที่ทำอยู่นั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน อาจจะประเมินจาก…

  • รอบการขายที่สั้นลง
  • มูลค่าการขายที่เพิ่มขึ้น

หลักการสร้างคอนเทนต์ที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง?

สำหรับใครที่ต้องการสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้า เพิ่มยอดคลิก หรือนำไปสู่ Conversion ที่ต้องการก็ควรที่จะเข้าใจหลักการสร้างคอนเทนต์ที่ดี ซึ่งจะประกอบด้วย…

  • เข้าใจแพลตฟอร์มบนโลกดิจิทัลจึงจะสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ได้

อย่างที่รู้กันดีว่าในโลกออนไลน์นั้นมีแพลตฟอร์มต่างๆ มากมาย เช่น เว็บไซต์, Social Media, Podcasts เป็นต้น ซึ่งการทำคอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีวิธีในการทำที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณควรจะเข้าใจถึง User Behavior หรือพฤติกรรมของผู้ใช้งานในแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อที่จะได้เสิร์ฟคอนเทนต์ที่ตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น 

หากคุณต้องการทำ SEO Content ลงบนเว็บไซต์เพื่อทำอันดับบน Search Engine อย่าง Google คุณต้องเข้าใจในเรื่องของ Search Intent หรือเจตนาในการค้นหาของกลุ่มเป้าหมายก่อนว่า พวกเขาพิมพ์ Keyword เหล่านั้นเพื่อหาอะไร เช่น

ตัวอย่างคอนเทนต์ SEO คนซื้อไอโฟน

คนพิมพ์คำว่า “ซื้อไอโฟน” นั่นหมายความว่า คนกำลังค้นหาแหล่งที่ทำการซื้อขายไอโฟน สิ่งที่ขึ้นมาก็จะเป็นเว็บไซต์ของ Apple ผู้ผลิตไอโฟน หรือเว็บไซต์ที่ซื้อขายไอโฟน เช่น เว็บ E-Commerce ต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างคอนเทนต์ ซื้อไอโฟนรุ่นไหนดี

หรือถ้าคนพิมพ์คำว่า “ไอโฟนรุ่นไหนดี” แสดงว่าคนกำลังค้นหาการเปรียบเทียบรุ่นไอโฟนแต่ละรุ่น สิ่งที่ขึ้นมาในผลการค้นหาก็ต้องเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเปรียบเทียบไอโฟนรุ่นต่างๆ 

จะเห็นว่า ถ้าเข้าใจว่าแพลตฟอร์มอย่าง Search Engine ว่าทำงานอย่างไร และให้ความสำคัญกับอะไรก็จะช่วยทำให้ทำคอนเทนต์ตอบโจทย์กับแพลตฟอร์มนั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น

  • การมี Goal ที่ดี

แม้จะเป็นการทำคอนเทนต์ แต่ก็ควรรู้จักที่จะตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมให้กับการลงมือทำคอนเทนต์ของคุณด้วย โดยอาจจะใช้หลักที่เรียกว่า SMART Goal เข้ามาช่วยในการหาเป้าหมาย มาดูรายละเอียดกันว่า SMART Goal ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  1. S – Specific = เป็นการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน และเฉพาะเจาะจง โดยต้องบอกให้ได้ว่าอะไรที่จะช่วยทำให้คอนเทนต์มีคุณภาพมากขึ้น และมากขึ้นเท่าไหร่
  2. M – Measurable = เป็นส่วนที่ต้องระบุออกมาเป็นสิ่งที่วัดผลได้ เช่น ออกมาเป็นตัวเลข ออกมาเป็น %
  3. A – Attainable = เป็นเป้าหมายที่สามารถทำสำเร็จได้ เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกว่าทำแล้วล้มเหลวกับมัน
  4. R – Relevant = เป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจของบริษัท
  5. T – Time Bound = เป็นเป้าหมายที่ทำการระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ไม่ยาวจนเกินไป ดังนั้นจึงควรกำหนด Deadline ในการทำเป้าหมายด้วย

ตัวอย่างการทำ Smart Goal สำหรับคนทำ Content

ที่มาภาพ: www.fossilconsulting.com

ยกตัวอย่างการตั้ง SMART Goal ให้กับการทำคอนเทนต์

S – Specific = คุณต้องการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ด้วยการทำ Content ลงในหน้า Blog โดยทำการกำหนด Keyword ที่เกี่ยวข้อง แชร์ลงโซเชียลมีเดีย 3-5 บทความต่อสัปดาห์ และเขียนเพิ่มเติมในความถี่จาก 15 บทความต่อเดือนเป็น 20 บทความต่อเดือน ด้วยการใช้นักเขียน Outsource ช่วยเขียน

M – Measurable = เป้าหมายคือ เพิ่ม Traffic จาก 25% เป็น 30%

A – Attainable = เมื่อเดือนที่แล้ว Traffic เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเพิ่มความถี่การเผยแพร่บทความจาก 2 เป็น 3 ครั้งต่อสัปดาห์

R – Relevant = เป้าหมายบริษัทคือต้องการทำให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น ดังนั้น การเพิ่ม Trafiic มีส่วนในการช่วยสร้าง Brandwareness ให้กับบริษัทและมีโอกาสสร้าง Conversion เพิ่มได้ด้วย

T – Time Bound = 30 วัน

สรุปแล้วตัวอย่าง Smart Goal คือ การเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ด้วยการทำ Content ลงในหน้า Blog 5% ภายในสิ้นเดือน ด้วยการเพิ่มความถี่ในการลงบทความจาก 15 บทความต่อเดือนเป็น 20 บทความต่อเดือน

  • หากลุ่มเป้าหมายที่อ่านคอนเทนต์ให้เจอ

เมื่อรู้เป้าหมายแล้ว สิ่งต่อมาก็ต้องมาทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น เพื่อที่ได้รู้ว่า พวกเขามีความสนใจในเรื่องอะไร อยากเสพคอนเทนต์อะไร หรือหาคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณจากช่องทางไหนบ้าง ซึ่งสิ่งที่ช่วยทำให้คุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณได้มากขึ้น จะเรียกว่า ‘การทำ Persona’

ตัวอย่างการทำ Persona สำหรับทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายก่อนลงมือทำคอนเทนต์

ที่มาภาพ: www.semrush.com

Persona คือ การออกแบบกลุ่มเป้าหมายตัวอย่างขึ้นมา โดยจะใช้ข้อมูลจากการวิจัยตลาดหรือข้อมูลพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงข้อมูลประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น อายุ เพศ ที่อยู่ ฯลฯ ซึ่งการทำ Persona จะช่วยทำให้รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทีมงานที่ทำคอนเทนต์ก็จะเห็นกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกัน ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร อีกทั้งช่วยในการออกแบบ Customer Journey ของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น

  • รู้จักเขาและรู้จักเราให้มากขึ้น

เขาในที่นี้คือ ‘คู่แข่ง’ และเราในที่นี้คือ ‘ธุรกิจของเรา’ เอง ซึ่งการที่จะรู้จักคู่แข่งมากขึ้นก็ต้องทำ Competitor Analysis เพื่อหาว่าคู่แข่งมีจุดแข็งอะไรและจุดอ่อนอะไร ส่วนการทำความรู้จักตัวเองก็จะช่วยทำให้เห็นด้วยว่าเรามีอะไรดี และอะไรควรที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อเอาชนะคู่แข่ง โดยสิ่งที่ช่วยจะทำให้รู้สึกทั้งตัวบริษัทคุณและคู่แข่งได้ดีขึ้น นั้นมีหลาย Framework ด้วยกัน เช่น

SWOT Analysis

ตัวอย่างการทำ SWOT Analysis

ที่มาภาพ: www.semrush.com

SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กร เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจ สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งในฝั่งธุรกิจของคุณเองหรือคู่แข่งก็ได้ โดยองค์ประกอบของ SWOT จะมีดังนี้

S – Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง

W – Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน

O – Opportunities หมายถึง โอกาส

T – Threats หมายถึง อุปสรรค

  • หา Customer Journey ของลูกค้า

หากคุณตั้ง Goal ที่ชัดเจน ทำ Persona จนเข้าใจลูกค้า รวมถึงวิเคราะห์แบรนด์ตัวเองและคู่แข่งจนครบแล้ว คราวนี้ถึงเวลานำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เป็น Customer Journey ที่ช่วยสร้างโอกาสให้เกิดการซื้อขายในธุรกิจ โดยยึดจาก Marketing Funnel ที่ทำเป็นหลัก ดังนี้

marketing funnel Framework

ที่มาภาพ: www.semrush.com

  1. สร้างการรับรู้ (Awareness) ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ผ่านคอนเทนต์ต่างๆ เช่น การส่งอีเมลเพื่อประชาสัมพันธ์แบรนด์, ใช้การยิงโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook และ Google, ทำ SEO เป็นต้น 
  2. ช่วยในการพิจารณา (Consideration) ทำให้ลูกค้าคิด พิจารณา และช่วยทำให้ลูกค้ามีโอกาสเลือกคุณหลังจากที่มีความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการแล้วด้วยการทำคอนเทนต์ประเภทให้ข้อมูลที่ช่วยทำให้เกิดการพิจารณา เช่น ทำ Infographic, ทำ E-book, ทำสัมมนาออนไลน์ เป็นต้น
  3. ช่วยในการตัดสินใจซื้อ (Conversion) ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากทางแบรนด์ด้วยคอนเทนต์ที่จูงใจและโน้มน้าวให้ซื้อ เช่น การทำ PR โปรโมชัน, การลงสินค้าไว้ใน E-Commerce Platform อย่าง Lazada, Shopee และ Amazon
  4. สร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty) ทำให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีกับแบรนด์ด้วยการทำคอนเทนต์ที่ส่งเสริมการทำ CRM เช่น ส่วนลดสำหรับลูกค้าประจำ, คอนเทนต์พิเศษสำหรับผู้ติดตาม เป็นต้น
  • วาง Brand Personality และ Brand Voice 

Brand Personality คือ การสร้างภาพลักษณ์ภายนอกของแบรนด์อย่างชัดเจน และยังระบุลงลึกถึงนิสัยของแบรนด์ โดยสื่อสารออกมาใน Brand Voice ของแบรนด์ที่เป็นน้ำเสียงและท่าทีในการสื่อสารของแบรนด์ ส่วนวิธีการวิเคราะห์หา Brand Personality นั้นสามารถใช้สิ่งที่เรียกว่า Brand Idnetity Prism ในการคิดได้ ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Nike ที่เรารู้จักกันดี เราจะนำมาวิเคราะห์ว่าแบรนด์นี้มีภาพลักษณ์แบบไหน โดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้

brand identity system nikebrand identity system nike example

ที่มาภาพ: fisovee.wordpress.com

  1. Physique หมายถึง รูปร่างลักษณะของแบรนด์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ Logo และสโลแกน โดยโลโก้ของไนกี้จะเป็นเครื่องหมายถูก และสโลแกนเป็น “Just Do It”
  2. Personality หมายถึง บุคลิกภาพและลักษณะของแบรนด์ โดยจะแสดงออกผ่านพรีเซนเตอร์ ดีไซน์ แอด หรือคอนเทนต์ ซึ่งไนกี้จะมีบุคลิกภาพเป็นนักกีฬาที่มีไลฟ์สไตล์เป็นของตัวเอง
  3. Culture หมายถึง วัฒนธรรมของแบรนด์ว่าแสดงออกเป็นแบบไหน อย่างไนกี้จะเป็นแบบ American เน้นความแข็งแรงและสปอร์ต
  4. Relationship หมายถึง แบรนด์นี้ต้องการสร้างสัมพันธ์หรือส่งมอบอะไรให้กับลูกค้า อย่างไนกี้ต้องการที่จะให้ความรู้สึกสบายในการวิ่ง และกระตุ้นให้รู้สึกอยากออกวิ่ง
  5. Reflection (of consumer) หมายถึง สิ่งที่ลูกค้าคิดกับแบรนด์ว่าจะเป็นใคร อย่างไนกี้ ลูกค้าจะมองว่าเป็นคนที่เต็มไปด้วยพลัง เป็นวัยรุ่น และเลือกแบรนด์
  6. Self-Image หมายถึง สิ่งที่แบรนด์มองตัวเอง อย่างไนกี้จะมองตัวเองว่าเป็นนักกีฬา เท่ และเป็นคนที่รู้จักเลือกแบรนด์

 Brand Voice ของไนกี้จึงแสดงออกมาในแง่มุมของการสร้างแรงบันดาลใจ มองโลกในแง่บวก และสื่อสารออกมาผ่านข้อความที่ทรงพลังซึ่งช่วยกระตุ้นให้ทุกคนทั้งที่เป็นนักกีฬาหรือไม่ได้เป็นนักกีฬาให้ “แค่ลงมือทำมัน”

ยกตัวอย่างสิ่งที่แบรนด์ไนกี้ทำช่วงวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา Nike ได้ออกแคมเปญเชิญชวนกำลังกายในบ้านแทนที่จะออกไปข้างนอก แบรนด์ไม่เพียงแต่ใช้น้ำเสียงเพื่อแสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและสนับสนุนให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้กับวิกฤตครั้งนี้ แต่ยังใช้น้ำเสียงของแบรนด์เพื่อกระตุ้นให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Ditancing) อีกด้วย

ตัวอย่าง Nike content

  • ลงมือทำคอนเทนต์

มาถึงขั้นตอนสำคัญ นั่นคือ การลงมือทำคอนเทนต์แล้วว่า จะทำออกมาในรูปแบบไหน และจะเผยแพร่เมื่อไหร่ และเพื่อให้ตรงกับ Timeline ที่วางไว้ควรที่จะรู้จักทำ COntent Carlendar ที่ชัดเจนสำหรับลงคอนเทนต์เอาไว้ด้วย โดยอาจจะใช้ Tools ต่างๆ เป็นตัวช่วย เช่น Asana, Trello, Clickup เป็นต้น ซึ่งคุณควรที่จะแตกรายละเอียดของ Task งานออกมาให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น…

  • จุดประสงค์ของการทำงานนี้
  • ใครคือผู้รับผิดชอบ ระบุไว้ว่าต้องมีใครจัดการงานส่วนนี้บ้าง เช่น นักเขียน กราฟิก AE เป็นต้น
  • กำหนดส่งเมื่อไหร่
  • จะเผยแพร่งานเมื่อไหร่
  • รายละเอียดของงานทั้งหมด เช่น บรีฟ ไอเดีย
  • ช่องทางที่จะเผยแพร่คอนเทนต์

หลังจากนั้นก็ลงมือทำคอนเทนต์ให้ตรงกับ Scope ของงานและระยะเวลาที่กำหนด

ตัวอย่างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ

ทำคอนเทนต์อย่างไรให้น่าสนใจ มาดูตัวอย่างคอนเทนต์ที่ทำเท่าไหร่แล้วไม่ตันที่คอนเทนต์ Content Cube มักใช้มุกเหล่านี้ในการสร้างสรรค์งานกันดีกว่า

  • E-Book

ตัวอย่างการทำ E-book ของ Hubspot

ตัวอย่างคอนเทนต์ที่น่าสนใจแบบแรกจะเป็นคอนเทนต์ที่ทำได้ยาก แต่ให้ Impact สูง นั่นคือ การทำ E-Book หรือเอกสารที่เอาไว้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจได้ดาวน์โหลด ซึ่งการดาวน์โหลดไปก็ไม่ใช่แจกให้ฟรีๆ แต่เราสามารถเก็บข้อมูลของพวกเขาเพิ่มเติมได้ ซึ่งวิธีนี้จะเรียกว่าการทำ Lead Generation 

คอนเทนต์ E-Book จึงเป็นคอนเทนต์ประเภทหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการส่งเสริมการตลาดได้ดี ช่วยทำให้ Sale และทีม Marketing ได้ Laed ที่มีคุณภาพมาไว้ในมือสำหรับทำการตลาดต่อ โดยอาจจะนำรายชื่อที่ได้มาใช้ในการทำ Email Marketing, ยิงแอด หรือโทรหาโดยตรงเลยก็ได้เช่นเดียวกัน

  • FAQ Content

‘คำถามที่พบบ่อย’ มักเป็นสิ่งที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณมักจะตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ และแน่นอนว่า มันนำไปสู่การหาคำตอบ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มลูกค้าของคุณคือ บริษัท SME ที่ต้องการทำคอนเทนต์ แต่ยังไม่รู้ว่าคอนเทนต์คืออะไร สิ่งที่เขาจะให้ความสนใจอาจจะเป็นการค้นหาว่า ‘คอนเทนต์คืออะไร’ ‘ทำไมต้องทำคอนเทนต์’ หรือ ‘ควรทำคอนเทนต์แบบไหนดี’

หากคุณเป็นเว็บไซต์ที่สามารถทำเนื้อหาคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ในสิ่งที่เป็นคำถามเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก เชื่อถือ และอาจจะกลายเป็นลูกค้าได้ในที่สุด 

ดังนั้น อย่าลืมที่จะแนบเอา คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เอาไว้ในหน้าเว็บไซต์ หรืออาจจะทำลงบนพื้นที่สื่ออื่นๆ เช่น Social Media อื่นๆ เพิ่มเติมด้วย โดยตัวอย่างของคำถามที่กลุ่มเป้าหมายมักถามบ่อยๆ และสามารถหยิบมาทำคอนเทนต์ได้จะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน

  • คำถามก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น สินค้าของเราไม่เหมาะกับใคร, ต่างจากคู่แข่งอย่างไร, ผลลัพธ์การใช้งานเป็นอย่างไร
  • คำถามระหว่างตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น วิธีการดูแลรักษา, ขั้นตอนการซื้อ, วิธีการทำให้สินค้าใช้ได้นานขึ้น
  • คำถามเกี่ยวกับการอัปเดตของสินค้า เช่น รุ่นใหม่เป็นแบบไหน ใช้ร่วมกันรุ่นเก่าได้หรือไม่ 

ตัวอย่างการทำ Faq content

ตัวอย่างการทำ FAQ Content บนเว็บไซต์ ActiveCampaign

นอกจากจะเป็นคอนเทนต์ที่มีประโยชน์แล้ว FAQ Content ยังดีต่อการทำ SEO ด้วย หากคุณทำการตอบคำถามที่ตรงกับ People Also Ask ที่ผู้คนให้ความสนใจ Google ก็จะนำมาแสดงผลบนหน้า Search Result ให้ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง people also ask

  • Educational Content

Education Content จะเป็นคอนเทนต์ที่เหมาะกับสื่อทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Long-Form Blog, Vlog, หรือ Social Album เพราะเป็นสิ่งที่คนใช้งานอินเทอร์เน็ตมักต้องการทราบอยู่แล้ว เนื่องจากมีประโยชน์ และช่วยตอบสนองและช่วยแก้ปัญหาบางอย่างกับพวกเขา 

อย่างบทความของ Content Cube เองก็นับว่าเป็น Education Content เพราะให้ความรู้เกี่ยวกับการทำคอนเทนต์, การทำ SEO, การทำ Influencer Marketing ไปจนถึงการทำเว็บไซต์ เช่น Page Speed เป็นต้น  

ตัวอย่าง content cube educational content

  • Real-Time Content

สำหรับใครที่เป็นนักเขียนที่ทำงานอยู่บน Social Media เป็นหลักก็ต้องใช้วิธีการทำ Real-Time Content เป็นหลัก เพราะคอนเทนต์รูปแบบนี้ช่วยสร้าง Engagement ให้กับช่องทาง Social ได้ง่าย และมีโอกาสสร้างฐานผู้ติดตามได้ค่อนข้างเร็ว ซึ่งถ้าใครไม่แน่ใจว่าจะไปหาคอนเทนต์แบบเรียลไทม์ได้จากที่ไหน ก็อาจจะใช้เครื่องมือจำพวกจับกระแสอย่าง Social Listening Tools เช่น Wisesight Trend ในการดูว่าข่าวอะไรกำลังมาในแต่ละหมวดหมู่ มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจพอจะหยิบมาทำคอนเทนต์ได้บ้าง เป็นต้น

ตัวอย่างการทำ real-time content จากWisesight trend

สรุปแล้วคอนเทนต์คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญ

สรุปแล้ว คอนเทนต์ คือ อาวุธที่ทรงพลังสำหรับการทำ Digital Marketing ในยุคปัจจุบัน เพราะนี่คือ ฟันเฟืองที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก ช่วยในการตัดสินใจซื้อจากการให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ช่วยในการสร้างความบันเทิงจนเกิดเป็นยอดการติดตามให้กับช่องทางต่างๆ ของธุรกิจ 

แต่การสร้างคอนเทนต์ที่ดีนั้น ไม่ได้มีองค์ประกอบแค่การเขียนเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยเทคนิคอื่นๆ มากมายที่จะนำไปสู่การวัดผลลัพธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าคุณคือหนึ่งในธุรกิจที่ต้องการ Value Content ที่เหมาะสมสำหรับแบรนด์ สามารถติดต่อเรา Content Cube เพราะเราเชี่ยวชาญในด้านการสร้างคอนเทนต์คุณภาพให้กับแบรนด์ธุรกิจทั้ง B2B และ B2C 

ติดต่อเราได้เลยที่นี่ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *